Montfort50

Thursday, June 28, 2012

หนทางสู่ฝันของน้อง ๆ ปี 56 ได้เริ่มขึ้นแล้ว แอคชั่น

หนทางสู่ฝันของน้อง ๆ ปี 56 ได้เริ่มขึ้นแล้ว แอคชั่น!!!ก่อนที่จะไปสู่ระบบแอดมิชชั่นจะต้องผ่านช่วงเวลาของ “เทศกาลสอบตรง” ไปก่อน มีน้อง ๆ หลายคนที่ตั้งใจจะเข้ามหาวิทยาลัยด้วยระบบสอบตรง ดังนั้นพี่แป้งจึงมี จุดสำคัญ 7 จุด สำหรับการสอบตรงมาฝากน้อง ๆ จะได้ไม่พลาดเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เตรียมกระดาษปากกาจดเลคเชอร์ตามได้เลยค่ะ จุดที่ 1 คุณสมบัติ อ่านดี ๆ การรับตรงของแต่ละคณะ/มหา’ลัยจะกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครต่างกันโดยมีประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้ - เกรด สำคัญยิ่งค่ะน้อง ๆ ต้องอ่านรายละเอียดดี ๆ บางคณะ/มหา’ลัยใช้เกรด 3 วิชารวมกัน บ้างก็ใช้เกรด 5 เทอม บ้างก็ใช้ 4 เทอม รวมถึงอาจจะมีข้อจำกัด GPAX ว่าต้องเท่าไหร่ 2.00 2.50 2.75 3.00 ไปจนถึง 3.50 ก็มีค่ะ สำหรับเรื่องเกรด ถ้าไม่ถูกต้องตามคุณสมบัติที่กำหนด น้อง ๆ ยังสามารถยื่นใบสมัครได้ แต่ว่าจะไม่ได้รับการพิจารณาและไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ใด ๆ ได้เลย - ระดับการศึกษา บางคณะ/มหา’ลัยก็ให้เด็กซิ่ว รวมถึงสายอาชีพหรือเทียบเท่าสอบได้ แต่บางมหา’ลัยให้เพียงแค่น้องม.6 เท่านั้น คอยระวังไว้ดี ๆ นะคะ เพราะว่านอกจากเขาจะไม่พิจารณาเราแล้ว เขาอาจจะตัดสิทธิ์การสอบโดยสิ้นเชิง ข้อหาจงใจทุจริตเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัคร เคยมีมาแล้วด้วยนะเออ......อย่าประมาท - คะแนนสอบที่ใช้ในการคัดเลือก ถ้ามหา’ลัยที่เข้าระบบ Clearing house จะกำหนดว่าสอบ 7 วิชาสามัญด้วยนะ วิชาอะไรบ้างจะระบุไว้ชัดเจน แต่บางมหา’ลัยต้องสอบมากกว่า 7 วิชาสามัญอีก เพราะฉะนั้นกำหนดการของแต่ละมหา’ลัยเริ่มออกมาแล้วน้อง ๆ ต้องตามข่าวเรื่อย ๆ นะคะ เช่น ทางคณะนั้นกำหนดว่าสอบทั้ง 7 วิชา แต่ว่าน้อง ๆ สอบแค่ 5 วิชา ก็เท่ากับว่าน้องจะถูกตัดสิทธิ์เนื่องจากเข้าสอบไม่ครบทุกรายวิชา แล้วโอกาสในการเข้ามหา’ลัยก็จากหายไป แว๊บบบ!!!!!! - อื่น ๆ คือ คุณสมบัติอื่น ๆ ที่มหา’ลัยกำหนดเพิ่มเติม เช่น ต้องเป็นนักเรียนสายวิทย์-คณิตเท่านั้น หรือ ต้องเป็นผู้ที่ได้ลำดับ 1-10 ในระดับช่วงชั้นเท่านั้น และต้องมีใบรับรองด้วยนะ เพราะถ้าไม่มี เขาก็ไม่เชื่อ และแน่นอนถูกตัดสิทธิ์ไปโดยอัตโนมัติ จุดที่ 2 สมัครทางไหนได้บ้างนะ? การส่งใบสมัครสามารถทำได้หลายช่องทางค่ะ ทางคณะ/มหา’ลัยจะกำหนดไปเลยว่าได้แค่ทางไหนบ้าง หรือไม่ก็ได้ทุกทาง สมัครมาเหอะ! โดยส่วนใหญ่แล้ววิธีที่สามารถสมัครได้มีดังนี้ - สมัครทางอินเตอร์เน็ต ทางระบบจะให้กรอกข้อมูลลงในใบสมัครออนไลน์ได้เลย ข้อมูลของน้อง ๆ ก็จะอยู่ในระบบของทางคณะ/มหา’ลัยโดยอัตโนมัติ สิ่งที่พลาดสำหรับการสมัครสอบทางอินเตอร์เน็ตคือ เว็บล่ม ปัญหาระดับประเทศค่ะเรื่องนี้ แล้วเมื่อเว็บล่มสิ่งที่ตามมาคือสมัครไม่ได้ และก็ไม่ได้สมัครเสียโอกาสไป และก็มีปัญหาอื่นด้วยนะเช่น กรอกรายละเอียดแล้วเมื่อกดยืนยันจะแก้ไขไม่ได้ กรอกข้อมูลไม่ครบ หรือแม้กระทั่งไม่อัพรูป เคยมีนะคะถูกตัดสิทธิ์ในการสอบเนื่องจากไม่อัพรูป เพราะทางผู้พิจารณาเขาถือว่าเราจงใจไม่แสดงตัว อาจนำไปสู่การทุจริตได้ !!! - สมัครทางไปรษณีย์ น้อง ๆ จะต้องซื้อใบสมัครตามจุดหรือโหลดจากเว็บไซด์ที่ทางคณะกำหนด แล้วนำมากรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและไปที่ที่ทำการไปรษณีย์ จ่าหน้าซองแล้วส่งโลด แต่ว่าดู ๆ แล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่กรณีที่เคยเกิดขึ้นคือ 1) ส่งไปไม่ถึง อาจจะถึงมหา’ลัยนั้นแต่ไม่ถึงคณะที่จะสมัคร หรือ ไปรษณีย์หายระหว่างทาง ปัจจุบันนี้จึงมีการ Track เพื่อจะได้รู้ว่าของเราอยู่ไหนแล้ว 2) ส่งเอกสารไม่ครบ หรือแม้กระทั่งเอกสารไม่เซ็นสำเนาถูกต้องก็ไม่รับการพิจารณาใบสมัครเพราะว่าอาจเป็นคนอื่นมาสมัครก็ได้ 3) เวลาในการส่ง นับวันที่แสตมป์ที่ไปรษณีย์หรือนับวันที่มาถึงที่รับสมัคร ถ้าพลาดขึ้นมาเขาจะไม่แม้แต่จะแกะซองออกมาอ่านชื่อผู้สมัครด้วยซ้ำ!! - สมัครด้วยตนเอง น้อง ๆ ต้องเดินทางไปสมัครด้วยตนเองตามสถานที่ วัน และเวลาตามที่ทางคณะ/มหา’ลัยได้กำหนดไว้ค่ะ ทางนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเอกสารมากเท่าไหร่ แต่จะมีปัญหา คือ จำวันและเวลาผิด !! กำหนดสมัครเช้ามาบ่าย ไม่มีใครรอหรอกนะคะ ก็เสียโอกาสไปเลย จุดที่ 3 เอกสารที่ต้องการ ในการสมัครระบบรับตรงบางครั้งทางคณะ/มหา’ลัยต้องการเอกสารเพิ่มเติมนอกจากใบสมัคร พี่แป้งแนะนำว่าลงทุนหาแฟ้มสักหนึ่งแฟ้ม เขียนตัวโต ๆ ว่าเอกสารสำคัญ แล้วเก็บเอกสารในแฟ้มให้เรียบร้อยค่ะ ไม่อย่างนั้นน้อง ๆ จะเจอปัญหาระดับชาติตามมาเลยว่าเอกสารฉันไปไหนเนี่ย????? - ใบรับรอง (ดูข้อกำหนดด้วยว่าใครเป็นคนเซ็นต์รับรอง) - ใบ ปพ. หรือใบแสดงผลการเรียน (Transcript) - สำเนาบัตรประชาชน (แบบเซ็นต์สำเนาถูกต้องด้วยนะ) - สำเนาทะเบียนบ้านตนเอง บิดามารดา (เพื่อตรวจสอบสัญชาติ) - สำเนาการเปลี่ยนชื่อ การย้ายที่อยู่ (ไม่มีก็ไม่ต้องไปหามานะ) - ใบโอนเงินค่าสมัคร (ใบที่เวลาเราไปจ่ายเงินหน้าธนาคารแล้วพี่เจ้าหน้าที่ให้คืนมา) - สำเนาการสมัครสอบ (พิมพ์ได้จากเว็บที่สมัคร) เน้นนิดนึงว่า บางคณะ/มหา’ลัยหากขาดเอกสารใดเอกสารหนึ่งไป หมดสิทธิสอบเลยนะ ..... โอ๊ะ โหดร้าย จุดที่ 4 การตรวจร่างกาย ในการสอบตรงนั้นบางคณะ/มหา’ลัยต้องการใบรับรองแพทย์เพื่อประกอบการพิจารณาข้อมูลของผู้สมัคร โดยก็มีข้อแตกต่างกัน ตั้งแต่ขอแค่ใบรับรองแพทย์ธรรมดา ตรวจความดัน ตรวจเลือด ไม่เป็นโรคติดต่อ เป็นอันว่าใช้ได้ จนไปถึงกระทั่งให้เอ็กซเรย์แบบจัดเต็มแบบว่าปลอดภัยชัวร์กับไปเลย หรือว่าต้องตรวจตา ห้ามตาบอดสี ห้ามสายตาสั้นเท่านั้นเท่านี้ ห้ามพิการทางจิต และอื่น ๆ อีกมากมาย สิ่งที่น้อง ๆ ควรทำ คือ หาหลักฐานมายืนยันเท่าที่เขาได้ร้องขอมา เพราะหากไม่มีหลักฐานแล้วไซร้ เจ้าจักไม่มีสิทธิ์สอบนะ ชะเอิงเอยยยย...... กรณีที่เคยเจอต่อหน้าต่อตาเลยค่ะคือการที่ทางคณะ/มหา’ลัย ต้องการฟิล์มเอ็กซเรย์ปอด แล้วน้องไม่มีให้สุดท้ายก็ไม่ได้สัมภาษณ์ทั้ง ๆ ที่สอบข้อเขียนผ่านแล้ว!!เสียดายไหมละ? อ้อ ...... แล้วอย่าลืมนะคะ บางทีในระเบียบการเรื่องการตรวจร่างกายจะระบุเลยว่าสามารถตรวจได้ที่โรงพยาบาลใดบ้าง หรือถ้าไม่ได้ระบุก็หมายความว่าสามารถตรวจที่ไหนก็ได้ แต่ถ้าระบุไว้ว่าให้ตรวจที่โรงพยาบาลของรัฐเท่านั้นก็อย่าเบลอไปตรวจโรงพยาบาลเอกชนนะคะเพราะว่าเขาจะหาว่าน้อง ๆ ไม่ทำตามที่ระบุไว้ หรือ ใบนี้ซื้อมาหรือเปล่า และแน่นอนถูกตัดสิทธิ์ เพราะฉะนั้นทางที่ดีตรวจที่โรงพยาบาลรัฐนั่นแหละค่ะ ปลอดภัยที่สุดแล้ว จุดที่ 5 ค่าสมัครที่ต้องจ่าย การจ่ายค่าสมัครนั้นส่วนใหญ่แล้วไม่สามารถโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม (ATM) ได้ แต่ทางคณะ/มหา’ลัยจะมีเอกสารที่ให้เราไปยื่นกับทางธนาคารแล้วธนาคารเก็บไว้หนึ่งส่วน เราเก็บอีกส่วน ขอย้ำว่าห้ามหาย!!! เด็ดขาด ที่บอกว่าห้ามหายเพราะว่าอาจจะได้ใช้ตอนสอบข้อเขียน หรือตอนสอบสัมภาษณ์ นั่นละถ้าหายปุ๊บซวยปั๊บ !! และอย่าลืมตรวจสอบธนาคารที่สามารถจ่ายเงินได้ด้วยนะค่ะ และเตรียมเงินไปเกินสำหรับค่าธรรมเนียมธนาคารด้วย ถ้าตังค์ไม่พออายแย่ >< พี่แป้งไม่อยากเห็นน้อง ๆ พลาดเพราะใบจ่ายเงินหาย เดี๋ยวประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยบ่อยเกินไป.... อีกกรณีนึงคือเวลาในการจ่ายเงิน ต้องดูให้ถี่ถ้วนนะว่าต้องจ่ายภายใน 24 ชั่วโมง หรือ 3 วันนับตั้งแต่ตอนที่กดส่งใบสมัคร ถ้าเกินเวลาระบบจะตัดชื่อและตัดสิทธิ์ออกทันที และก็อยากบอกน้อง ๆ ว่าอย่าใจร้อนเรื่องเลขที่นั่งสอบไม่ขึ้นนะ เพราะบางทีการจ่ายเงินของน้อง ๆ อาจตรงกับวันเสาร์อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือเกินเวลาที่ทางระบบเปิดให้ทางธนาคารส่งข้อมูล ถ้าให้ชัวร์เลยให้นับเวลาทำการแล้วค่อยเช็คที่นั่งสอบอีกที ถ้าไม่ขึ้นซะทีก็โทรไปถามเลย แต่อย่าลืมบอกเขาไปด้วยนะว่ามีเอกสารการจ่ายเงินและจ่ายตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ จุดที่ 6 มหาวิทยาลัยนั้นเป็นระบบ Clearing house หรือไม่? น้อง ๆ ต้องเช็คด้วยนะคะว่าเป็น Clearing house หรือเปล่า แล้ววางแผนด้วยสำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการจะสอบหลายที่ เพราะสุดท้ายแล้วจะมีวันที่กำหนดยืนยันสิทธิ์สำหรับระบบ Clearing house เพื่อเลือกเข้าเรียนเพียงที่เดียว และจะตัดสิทธิ์แอดมิชชั่นกลางด้วย ส่วนเก้าอี้ที่ว่างจะต้องเป็นของเพื่อน ๆ ในรอบแอดมิชชั่นนั่นเอง นอกจากนี้ รับตรงบางโครงการ ถึงแม้จะไม่ได้เข้าร่วม Clearing house ก็จะระบุไว้ว่าเพียงแค่ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาก็หมายความว่าคุณยืนยันสิทธิ์เรียบร้อย “ถ้าคุณติด.....หมดสิทธิ์แอดฯ” นะจ๊ะคนดี จุดที่ 7 การชำระค่าธรรมเนียม น้อง ๆ อาจจะบอกว่า “โธ่พี่ผมยังไม่ติดสอบตรงเลย” พี่จะให้ผมคิดถึงค่าธรรมเนียมแล้วหรอ พี่แป้งก็จะตอบแบบเต็มเสียงว่า “ใช่ค่ะ” เพราะมันหมายถึงเงินในกระเป๋าของน้อง ๆ และครอบครัว สำหรับน้อง ๆ ที่สมัครสอบหลายที่ และสอบติดหลายที่ พี่แป้งแนะนำให้วางแผนก่อนเพราะว่าสุดท้ายแล้วการสอบตรงน้อง ๆ จะเลือกได้ที่เดียวเท่านั้น กรณีนึงที่เป็นที่ผิดพลาดสำหรับเด็กสอบตรงคือการที่สอบติดหลายที่และตั้งใจว่าจะชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาไว้ทุกที่ แต่ที่พลาด คือวัน และเวลาการชำระค่าธรรมเนียมต่างกัน เช่น น้องเหมี่ยวสอบติด 4 ที่ วันและเวลาในการชำระค่าธรรมเนียมเป็นดังนี้ คณะฯที่ 1 ชำระวันที่ 18 คณะฯที่ 2 ชำระวันที่ 19 คณะฯที่ 3 ชำระวันที่ 20 คณะฯที่ 4 ชำระวันที่ 21

Saturday, June 18, 2011

รับหนังสือรุ่นมงฟอร์ต50 we run วีรันดร์


รับหนังสือรุ่นมงฟอร์ต50 we run วีรันดร์ ตามวันเวลาที่แจ้งมานี้นะครับ

Wednesday, May 4, 2011

ประกาศ แล้วแอดมิชชัน '54

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์
สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย
การคัดเลือกฯปีการศึกษา 2554

http://admission.cuas.or.th/finaladm54r/index.html

สถิติคะแนน สูง-ต่ำ
การคัดเลือกฯ ปีการศึกษา 2554

http://admission.cuas.or.th/adm54maxmin/index.html

ประกาศ แล้วแอดมิชชัน '54 เด็กเก่งเตรียมอุดมฯ สอบได้คะแนนสูงสุด 93.21 ติดรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ด้านคณะยอดฮิต ได้แก่ รัฐศาสตร์ มธ.เด็กแห่สมัครกว่า 3 พันราย

วันนี้ (4 พ.ค.) สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย จัดงานแถลงข่าวการประกาศผลการคัดเลือกฯ ประจำปีการศึกษา 2554 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยประกาศผลเบื้องต้น นักเรียนคนเก่งทำคะแนนสูงสุด 10 ราย ใน 10 คณะ

โดยในปีนี้มีผู้สมัครทั้งสิ้น 123,260 คน โดยสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทยดำเนิน การคัดเลือกให้ รวมทั้งหมด 94 สถาบัน เพื่อเข้าศึกษาใน 912 คณะ/สาขาวิชา โดยมีรหัสสถาบัน/สาขาวิชาให้เลือกทั้งสิ้น 3,747 รหัส และมีผู้ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ จำนวน 78,096 คน

สำหรับนักเรียนผู้ทำคะแนนได้สูงสุด ใน 10 คณะ/สาขาวิชา ที่มีการประกาศผลวันนี้ ได้แก่

นายรัตน์ ปทุมวัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 93.21

น.ส.บุลพร แซ่ลิ่ม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จ.สงขลา คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 89.53

น.ส.ชนิษฐา ปุณณวัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากโรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพฯ คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 87.46

นายนพพล สิระนาท คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 87.04

น.ส.กานตา ทิพย์ธาร คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 86.98

น.ส.ตะวันรัตน์ รุ่งปัญญารัตน์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนสตรีวัดระฆัง คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 84.69

น.ส.ปริณดา วงศ์เบญจรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 84.46

น.ส.เบญญดา ถาวรเศรษฐ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนสตรีวิทยา 2 คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 83.87

นายปรัชญ์ วรกิตติ์ แก้วศิริรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จ.นครปฐม คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 83.59

น.ส.ลออรัตน์ จงฐิตินนท์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ 82.21

นอกจากนี้ มีผู้พิการทางสายตา สามารถสอบผ่านการคัดเลือกในระบบแอดมิชชัน ประจำปีการศึกษา 2554 จำนวน 2 คน ได้แก่

น.ส.ณิชกานต์ กวีวรญาณ คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์

นายดำเกิง มุ่งธัญญา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล

-----------------------------------------------------------

สำหรับสาขาที่มีผู้สมัครมากที่สุด 3 อันดับแรก ในปีนี้ ได้แก่

1.คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง (พื้นฐานวิทยาศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รับจำนวน 50 คน มีผู้สมัคร 3,032 คน

2.คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า, อุตสาหกรรม, เคมี, เครื่องกล, คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รับจำนวน 280 คน มีผู้สมัคร 2,449 คน

3.คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รับจำนวน 450 คน มีผู้สมัคร 1,975 คน

Thursday, April 7, 2011

สอท เปิดให้โหลดระเบียบการแอดมิชชั่น admission 2554

สอท เปิดให้โหลดระเบียบการแอดมิชชั่น admission 2554 แล้วครับ

http://www.cuas.or.th/admbook54/index.html

อ่านกันให้ตาแฉะไปเลยครับ 492 หน้า

Wednesday, April 6, 2011

เอาคะแนนสูงสุด ต่ำสุด Onet ม.6 2554 มาให้ดุกันครับ







เอาคะแนนสูงสุด ต่ำสุด Onet ม.6 2554 มาให้ดุกันครับ
แม้คะแนนเฉลี่ยจะต่ำ แต่ก็มีคนได้เต็ม ร้อย นะครับ ทำไปได้

Tuesday, April 5, 2011

สทศ.ประกาศผล O-NET ม.6 ปี 2554

สทศได้แจ้ง link สำหรับประกาศผล

link o-net 2553 http://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Notice/FrEnquireStudentGraphScore.aspx

link gat pat ครั้ง1/2544 http://www.onetresult.niets.or.th/GPSRegisterWeb/FrmLogin.aspx

สทศ.ประกาศผล O-NET ม.6 ปี 2554 พบคะแนนเฉลี่ยทั้งประเทศต่ำ “คณิต - อังกฤษ” ได้ไม่ถึง 20 คะแนน ขณะที่วิชาหลักตกฮวบ ไม่ถึงครึ่ง

วันนี้(5 เม.ย.) สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) ได้ประกาศผลสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ชั้นม. 6 ปีการศึกษา 2553 ทางเว็บไซต์ของ สทศ. www.niets.or.th แล้วตั้งแต่เวลา 23.00 น.ของวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่าน ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิมคือวันที่ 10 เม.ย. โดย รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สทศ. กล่าวว่า การประกาศผลสอบ O-NET ถือว่าเร็วกว่ากำหนด เนื่องจากสทศ.สามารถตรวจกระดาษคำตอบได้เร็ว ซึ่งการประกาศผลสอบเป็นไปอย่างเรียบร้อยและไม่มีปัญหาเว็บล่ม ในส่วนการทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT นั้น จะประกาศในวันที่10 เม.ย.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สทศ.ได้รายงานค่าสถิติพื้นฐานทั่วประเทศด้วย ซึ่งสำหรับค่าเฉลี่ย O-NET ม.6 ทั้ง 8 วิชาๆ ละ 100 คะแนน มีดังนี้

ภาษา ไทย มีผู้เข้าสอบ 351,633 คน คะแนนเฉลี่ยทั่วประเทศ 42.61,
สังคมศึกษา เข้าสอบ 357,050 คน เฉลี่ย 46.51,
ภาษาอังกฤษ เข้าสอบ 354,531 คน เฉลี่ย 19.22,
คณิตศาสตร์ เข้าสอบ 356,591 คน เฉลี่ย 14.99,
วิทยาศาสตร์ เข้าสอบ 349,210 คน เฉลี่ย 30.90,
สุขศึกษาและพลศึกษา เข้าสอบ 347,462 คน เฉลี่ย 62.86 ,
ศิลปะ เข้าสอบ 347,462 คน เฉลี่ย 32.62,
การงานอาชีพและเทคโนโลยี เข้าสอบ 347,462 คน เฉลี่ย 43.69





Thursday, March 10, 2011

ผู้ปกครองชั้นม. ๖ ศิลป์-จีน สมทบทุนสร้างสระว่ายน้ำ (De Montfort)

ตัวแทนผู้ปกครองชั้นม. ๖ ศิลป์-จีน มอบเงินที่เหลือจากการทำกิจกรรมของผู้ปกครองและนักเรียน
ในระหว่างปีการศึกษา 2551-2553 (ม.4-5-6) ซึ่งเงินจำนวนนี้ได้ัรับจากผู้ปกครองตั้งแต่ชั้น ม.4 และ ม.5
และได้ใช้จ่ายในกิจกรรม ต่างๆ เช่น จัดเลี้ยงอาหารวันคริตสมาส การจัดการติวเพื่อเตรียมตัวสอบโควต้า
จัดซื้อของที่ระลึกแก่วิทยากร ในการอบรมต่างๆ ร่วมสบทบทุนในกิจกรรมต่างๆร่วมกับทางสมาคมผู้ปกครอง
และกิจกรรมของโรงรียน และอื่นๆ

บัดนี้นักเรียนในรุ่นนี้ได้จบการศึกษาแล้ว และมีเงินคงเหลืออยู่ประมาณ 18,000 บาท
ทางคณะกรรมการผู้ปกครองของนักเรียนชั้นม. ๖ ศิลป์-จีน จึงมีมติมอบเงินที่เหลือนี้ให้กับ
ทางโรงเรียนเพื่อสมทบทุนสร้างสระว่ายน้ำ (De Montfort) ต่อไป

จึงเรียนมาให้ผู้ปกครองทุกท่านได้ทราบ หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามจาก คุณพิชัย ขันธอุบล
ประธานตัวแทนผู้ปกครองชั้นม. ๖ ศิลป์-จีน